คณะผู้ศึกษาตามโครงการ European Commission funded study ได้ออกแบบการศึกษาแบบ case-control studies ขนาดใหญ่เพื่อศึกษาผลของปัจจัยเสี่ยงทางต่อโรคพาร์กินสันและโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ในประเด็นด้านพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และการประกอบอาชีพ ในประเทศ Scotland, Italy, Sweden, Romania และ Malta โดยผลการศึกษาได้ตีพิมพิ์ในวารสาร Journal Occupational and Environmental Medicine
จากรายงานการวิจัยพบว่า ผู้ที่ได้รับยาปราบศัตรูพืช (pesticides) พบว่ามีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) 1.13 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่เคยสัมผัสเลย สำหรับผู้ที่เคยได้รับยาปราบศัตรูพืชในปริมาณที่สูงขึ้นพบว่าเพิ่มอัตราเสี่ยงเป็น 1.41 เท่า นอกจากนี้ยังพบว่านักมวยที่เคยถูกน๊อกเอ้าท์แบบหมดสติบนเวทีเพียงหนึ่งครั้งพบว่าเพิ่มโอกาสเป็นโรคนี้ถึง 1.35 เท่า สำหรับนักมวยที่ถูกน๊อกเอ้าท์บ่อยครั้งก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงถึง 2.53 เท่า
คงจำได้นะครับเคยมีนักมวยชื่อก้องโลกผู้หนึ่งเป็นโรคพาร์กินสัน และผมเคยเขียนเรื่องการชกมวยที่ทำให้ระดับของเปปไทด์อะไมลอยเบต้า (beta-amyloid peptide) เพิ่มมากขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์เช่นเดียวกัน
อ้างอิง
ScienceDaily
http://www.sciencedaily.com/releases/2007/05/070529201027.htm
NEUROSCIENCES, Adult Neurogenesis, neural STEM CELLS biology & THERAPY, NEUROTECHNOLOGY,neuroenhacement, neuropharmacology ประสาทวิทยาศาสตร์ ประสาทเทคโนโลยี ชีววิทยาของเซลล์ต้นกำเนิดประสาทเพื่อการบำบัดและค้นคว้ายาใหม่ การเกิดใหม่ของเซลล์ประสาท การเพิ่มศักยภาพสมอง ประสาทเภสัชวิทยา
Thursday, May 31, 2007
ออกกำลังกายร่วมกับรับประทานอาหารที่มี flavonols เพิ่มความจำ ลดการทำงานของยีนโรคสมองเสื่อม
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ร่วมกับการออกกำลังกายเป็นประจำอาจเพิ่มการทำงานของสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้มีข่าวงานวิจัยเกี่ยวกับการทดลองในหนูถีบจักรโดยเปรียบเทียบหนูสองกลุ่ม คือ กลุ่มแรกฝึกให้วิ่งเพียงอย่างเดียว และกลุ่มที่สองได้รับในสารกลุ่ม flavonols ที่ชื่อ epicatechin ซึ่งมีในอาหาร เช่น ช็อกโกเลต และวิ่งร่วมด้วย งานวิจัยนี้ตีพิมพิ์ในวารสาร The Journal of Neuroscience เมื่อวานนี้ครับ
ก่อนหน้านี้พบว่าสาร epicatechin ช่วยเสริมการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตและพบว่าเพิ่มปริมาณเลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น งานวิจัยนี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายร่วมกับการควบคุมอาหารโดยการให้สาร epicatechin ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบริเวณเดนเตตไจรัสใน (dentate gyrus)ของสมองส่วนฮิปโปแคมปัสซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการเรียนรู้และความจำ จึงเป็นไปได้ว่าอาจจะช่วยลดอัตราการเกิดหรือลดความรุนแรงของโรคสมองเสื่อม (neurodegenerative disease) หรือโรคความผิดปกติทางด้านการรู้คิด (cognitive disorders) ที่เกี่ยวข้องกับความชราภาพ
จากผลการวิจัยพบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับ epicatechin ร่วมกับการวิ่งวันละ 2 ชั่วโมง มีการเจริญของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเดนเตตไจรัสเพิ่มมากขึ้นและมีการพัฒนาของเซลล์ประสาทที่โตเต็มวัยมาก นอกจากนี้ยังพบว่ามีการแสดงออกของยีนที่สำคัญต่อการเรียนรู้และความจำเพิ่มมากขึ้นและลดการทำงานของยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบและภาวะสมองเสื่อม
คงจำได้นะครับว่าผมเคยเขียนเรื่องการออกกำลังกายช่วยเพิ่มการสร้างเซลล์ประสาทในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส เรื่องอาหารนี้ก็เป็นสิ่งที่กำลังได้รับความสนใจ สารที่ช่วยเพิ่มการทำงานของสมองเราอาจเรียกว่า nootropics หรือ neuropharmaceuticals หรือชื่ออื่นๆ ต่อไปสาขาวิชา Neurogenesis และ Neuroenhancement จึงน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งครับ
อ้างอิง
ScienceDaily
http://www.sciencedaily.com/releases/2007/05/070529174815.htm
ก่อนหน้านี้พบว่าสาร epicatechin ช่วยเสริมการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตและพบว่าเพิ่มปริมาณเลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น งานวิจัยนี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายร่วมกับการควบคุมอาหารโดยการให้สาร epicatechin ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบริเวณเดนเตตไจรัสใน (dentate gyrus)ของสมองส่วนฮิปโปแคมปัสซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการเรียนรู้และความจำ จึงเป็นไปได้ว่าอาจจะช่วยลดอัตราการเกิดหรือลดความรุนแรงของโรคสมองเสื่อม (neurodegenerative disease) หรือโรคความผิดปกติทางด้านการรู้คิด (cognitive disorders) ที่เกี่ยวข้องกับความชราภาพ
จากผลการวิจัยพบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับ epicatechin ร่วมกับการวิ่งวันละ 2 ชั่วโมง มีการเจริญของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเดนเตตไจรัสเพิ่มมากขึ้นและมีการพัฒนาของเซลล์ประสาทที่โตเต็มวัยมาก นอกจากนี้ยังพบว่ามีการแสดงออกของยีนที่สำคัญต่อการเรียนรู้และความจำเพิ่มมากขึ้นและลดการทำงานของยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบและภาวะสมองเสื่อม
คงจำได้นะครับว่าผมเคยเขียนเรื่องการออกกำลังกายช่วยเพิ่มการสร้างเซลล์ประสาทในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส เรื่องอาหารนี้ก็เป็นสิ่งที่กำลังได้รับความสนใจ สารที่ช่วยเพิ่มการทำงานของสมองเราอาจเรียกว่า nootropics หรือ neuropharmaceuticals หรือชื่ออื่นๆ ต่อไปสาขาวิชา Neurogenesis และ Neuroenhancement จึงน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งครับ
อ้างอิง
ScienceDaily
http://www.sciencedaily.com/releases/2007/05/070529174815.htm
Subscribe to:
Posts (Atom)