เมื่อเราสัมผัสอาการที่เย็นจัดมากคงจะรู้สึกได้ถึงความปวดที่ตาม ระบบชีวภาพของมนุษย์เรามีการรับความรู้สึกผ่านการทำงานโปรตีนที่หลากหลาย นักสรีรวิทยาที่ชื่อ Katharina Zimmermann และคณะจาก University of Erlangen-Nuremberg ประเทศเยอรมนีได้ศึกษาบทบาทของโปรตีนที่ชื่อ Nav1.8 โดยพบว่าปกติแล้วถ้าเรานำหนูถีบจักรไปไว้บนพื้นที่เย็นจัดถึง 0 องศาเซลเซียส หนูก็จะกรโดดและพยายามยกเท้าขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด แต่ในหนูกลุ่มทดลองที่ยีนของโปรตีน Nav1.8 ไม่ทำงานแล้วกลับไม่รู้สึกว่าตัวเองตกอยู่ในภาวะอันตรายจากความเย็น
โปรตีนนี้ทำงานโดยขนส่งไอออนโซเดียมผ่านเข้าเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทเพื่อส่งสัญญาณการรับความรู้สึกโดยเฉพาะความเย็นไปยังระบบประสาทส่วนกลางในท้ายสุด โปรตีนชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถทำงานได้ดีในสภาพอุณหภูมิต่ำซึ่งแตกต่างจากโปรตีนโดยทั่วไป อย่างไรก็ตามนักวิจัยกลุ่มอื่นเสนอว่าโปรตีนชนิดชี้อาจมีหน้าที่ในการรับความรู้สึกอย่างอื่นด้วย เช่น ความร้อนและแรงดัน เป็นต้น
อ้างอิง
1. http://www.nature.com/news/2007/070611/full/070611-8.html
2. Zimmerman K., et al. Nature, 447 . 855 - 858 (2007).