หัวข้อข่าว Thai hospitals offer ailing stem-cell treatment
ที่มา หนังสือพิมพ์ The Washington Times
คนไข้ที่ชื่อนาย Douglas Rice วัย 61 ปี จากรัฐ Washington state ของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว (congestive heart failure) หมอที่นั่นแจ้งเขาว่าเขาอาจมีชีวิตได้ไม่นาน และเขาต้องรับการผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายหัวใจเที่ยม (artificial heart) แต่เขาปฏิเสธการรักษาด้วยวิธีนั้นและกอปรทั้งได้ยินข่าวว่าที่เมืองไทยมีการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดจึงตัดสินใจมารักษาที่ รพ. เจ้าพระยา โดยเสียค่าใช้จ่ายเป็นเงิน $30,000
ปล. รพ. แห่งนี้ร่วมมือกับบริษัทเซลล์ต้นกำเนิดสัญชาติอิสราเอลชื่อดังที่เมืองไทย คือ บริษัท เธราวีเท จำกัด( www.theravitae.com)
ข้อความนี้ตัดเอามาจากเนื้อหาในเว็บไซต์ของโรงพยาบายเจ้าพระยา "วิธีการคือเจาะเลือดจากผู้ป่วยแล้วนำมาคัดแยกเซลล์ต้นกำเนิดจากเซลล์อื่นๆในกระแสโลหิต จากนั้นนำไปเพาะเลี้ยงเพื่อเพิ่มจำนวนในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน หนึ่งสัปดาห์ต่อมาเราจะได้เซลล์ต้นกำเนิดจำนวนมากสำหรับการสร้างผนังหลอดเลือด หรือ endothelial progenitor cells (EPC's) เซลล์เหล่านี้จะถูกฉีดกลับคืนไปยังผู้ป่วยคนเดิมผ่านทางหลอดเลือดหัวใจ เซลล์ EPC's ที่ถูกฉีดกลับไปนี้จะเคลื่อนตัวออกนอกหลอดเลือดเข้าสู่กล้ามเนื้อหัวใจบริเวณที่มีการขาดเลือด มันจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ขึ้นมาเพื่อให้เลือดสามารถไหลเวียนเข้ามายังกล้ามเนื้อหัวใจบริเวณนั้นได้มากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นเซลล์ EPC's ส่วนหนึ่งยังสามารถเปลี่ยนโครงสร้างกลายเป็นกล้ามเนื้อหัวใจได้ด้วย โดยมันจะหลอมรวมตัวเข้ากับกล้ามเนื้อหัวใจและหลั่งสาร cytokines ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสื่อสัญญาณให้โมเลกุลและเซลล์อื่นๆในร่างกายเข้ามาช่วยฟื้นคืนสภาพกล้ามเนื้อหัวใจให้กลับมาทำงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม เราจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงทางคลินิกที่ดีขึ้นได้หลังจากหนึ่งเดือนไปแล้ว และเห็นได้ชัดเจนเต็มที่เมื่อ 3-6 เดือนต่อมา"
ขอขอบคุณ
1. The Washington Times
2. รพ. เจ้าพระยา
1 comment:
ขยันทำจังเนาะ
รูปประกอบสวยดี
ดูตั้งใจนำเสนอ และมีสาระประโยชน์มากๆเลย
Cheers,
Mote
Post a Comment